ระบบปฏิบัติการ ( OS – Operating em )
เป็นซอฟต์แวร์ที่เอาไว้ใช้สำหรับควบคุมและประสานงานระหว่างอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ตั้งแต่ซีพียู หน่วยความจำ ไปจนถึงส่วนนำเข้าและส่งออกผลลัพธ์ ( input/output device ) บางครั้งก็นิยมเรียกรวม ๆ ว่า แพลตฟอร์ม (platform ) คอมพิวเตอร์จะทำงานได้จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการติดตั้งอยู่ในเครื่องเสียก่อน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตเครื่องนั้น ๆ ว่าจะเลือกใช้แพลตฟอร์ม หรือระบบปฏิบัติการอะไรในการทำงาน เราจะพบเห็นระบบปฏิบัติการอยู่ในคอมพิวเตอร์แทบจะทุกประเภทตั้งแต่เครื่องขนาดใหญ่อย่างเครื่องเมนเฟรมจนถึงระดับเล็กสุด เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาประเภทพีดีเอ
คุณสมบัติการทำงาน ระบบปฏิบัติการโดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติในการทำงานแบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
-การทำงานแบบ Multi – Tasking คือ ความสามารถในการทำงานได้หลาย ๆ งาน หรือหลาย ๆ โปรแกรมในเวลาเดียวกัน เช่น พิมพ์รายงานควบคู่ไปกับการท่องเว็บ ซึ่งในสมัยก่อนการทำงานของระบบปฏิบัติการจะอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า single-tasking ซึ่งจะทำงานทีละโปรแกรมคำสั่ง ผู้ใช้ไม่สามารถที่จะสลับงานไประหว่างโปรแกรมหรือทำงานควบคู่กันได้ แต่สำหรับในปัจจุบันจะพบเห็นลักษณะการทำงานแบบนี้มากขึ้น เช่น ในระบบปฏิบัติการ Windows รุ่มใหม่ ๆ ซึ่งทำให้การใช้งานได้สะดวกและทำงานได้หลาย ๆ โปรแกรม
-การทำงานแบบ Multi – User ในระบบการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกันแบบเครือข่าย ระบบปฏิบัติการที่ทำหน้าที่ควบคุมจะมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่เรียกว่า multi-user หรือความสามารถในการทำงานกับผู้ใช้ได้หลาย ๆ คน ขณะที่มีการประมวลผลของงานพร้อม ๆ กัน ทำให้กระจายการใช้ได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
ประเภทของระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการที่ใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบัน อาจนำเอาไปใช้ได้กับคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิด ตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ระดับใหญ่จนถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1.ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว ( stand – alone OS )
มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้เพียงคนเดียว นิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลและทำงานแบบทั่วไป
1.1 DOS (Disk Operating System) ใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นหลัก ทำงานโดยใช้การป้อนชุดคำสั่งที่เรียกว่า command-line
1.2 Windows ใช้หลักการแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ ที่เรียกว่า หน้าต่างงาน (window) จะแสดงผลลัพธ์ของแต่ละโปรแกรม ปัจจุบันได้รับความนิยมในการใช้งานอย่างแพร่หลายและมีการผลิตและจำหน่ายออกมาหลายๆ รุ่นด้วยกัน
1.3 Mac OS X เป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ของ
บริษัทแอปเปิ้ลโดยเฉพะเท่านั้น เน้นการใช้งานประเภทสิ่งพิมพ์ กราฟิก และศิลปะเป็นหลัก
2.ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย ( network OS )
มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้หลายๆ คน (multi-user) นิยมใช้สำหรับงานให้บริการและประมวลผลข้อมูลสำหรับเครือข่ายโดยเฉพาะ
2.1 Windows Server ใช้กับงานระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ บริษัทไมโครซอฟต์ส่วนใหญ่เหมาะกับการติดตั้งแะใช้งานกับเครื่องประเภทแม่ข่าย (Server)
2.2 Unix มักใช้กับผู้มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ค่อนข้างมาก รองรับกับการทำงานของผู้ใช้หลายๆ คนพร้อมกัน มีความยืดหยุ่นในการทำงานได้ดีกว่า
2.3 Linux พัฒนาโดยอาศัยต้นแบบการใช้งานของระบบ Unix และใช้โค้ดที่เขียนและเผยแพร่ในแบบ “โอเพ่นซอร์ส” ที่เปิดเผยโปรแกรมต้นฉบับให้ผู้ใช้สามารถจะพัฒนาและแก้ไขระบบต่างๆ ได้เองตามที่ต้องการ
2.4 OS/2 Warp Server ออกแบบมาสำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์แบบเครือข่ายสำหรับองค์กรได้เป็นอย่างดี
2.5 Solaris อยู่ในตระกูลเดียวกับระบบปฏิบัติการ Unix พัฒนาขึ้นโดยบริษัทซัน ไมโครซิสเต็มส์ สามารถรองรับการทำงานแบบเครือข่ายได้เช่นเียวกับระบบอื่นๆ
3.ระบบปฏิบัติการแบบฝัง ( embedded OS )
พบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก
3.1 Windows Mobile เป็นลักษณะที่ย่อขนาดการทำงานของ windows ให้มีขนาดที่เล็กและกะทัดรัดต่อการใช้งานมากขึ้น สามารถรองรับการทำงานแบบ multi-tasking ได้เช่นเดียวกันกับ OS ตัวอื่นๆ
3.2 Palm OS เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาก่อน windows Mobile ปัจจุบันมีการพัฒนาที่ดีขึ้น โดยออกแบบส่วนประสานงานหรืออินเทอร์เฟสให้น่าใช้มากกว่าเดิม และรองรับการทำงานผ่านเว็บด้วย
3.3 Symbian OS ออกแบบมารองรับกับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (wireless) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโทรศัพท์มือถือประเภท Smart phone
3.4 OS X ใช้ในเครื่องไอโฟน เป็นระบบปฏิบัติการแบบเดียวกับที่ใช้ในเครื่อง Mac ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้มากมาย
3.5 Android เป็น OS บนมือถือและอุปกรณ์พกพา มีโปรแกรมสำหรับการใช้งาน เช่น sms, บราวเซอร์, ปฏิทินกำหนดการ, สมุดโทรศัพท์ และโปรแกรมดูวิดีโอจาก youtube เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น