วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560

ระบบปฏิบัติการคืออะไร


ระบบปฏิบัติการคืออะไร

    ระบบปฏิบัติการ (Operating System) 
   จะประกอบไปด้วยชุดโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการควบคุม จัดสรรทรัพยากร ดูแลการดำเนินงานต่างๆภายในคอมพิวเตอร์ 
   และเป็นตัวกลางในการประสานงานการทำงานระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ เพื่อตอบสนองให้ผู้ใช้งานให้เป็นประโยชน์สูงสุดและมีประสิทธิภาพ 
   ทั้งนี้ระบบปฏิบัติการบางตัวจำเป็นต้องใช้งานบนแพลตฟอร์มโดยเฉพาะ 
   หรือกล่าวคือ เป็นซอฟต์แวร์ที่เอาไว้ใช้สำหรับควบคุมและประสานงานระหว่างอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ตั้งแต่ซีพียู หน่วยความจำ ไปจนถึงส่วนผลลัพธ์และส่งออก (Input/Output) บางครั้งก็เรียกว่า แพลตฟอร์ม (Platform) ซึ่งประกอบด้วย

 1. PC-Compatible บน Windows Platform 
   จัดเป็นกลุ่มพีซีคอมพิวเตอร์ทั่วไปใช้งานมากที่สุด โดยมักจะเป็นซีพียูของ Intel และ AMD ที่ใช้Windows 
  2. PC-Macintosh บน Mac Operating System Platform 
   เป็นคอพิวเตอร์ในตระกูล Apple เช่น Power Book, iMac, iBook Computer และ Mac Book โดยใช้ระบบปฏิบัติการ Mac OS 
   3. Linux Platform จัดเป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิด (Open Source) ใช้งานได้หลายแพลทฟอร์ม


     ประเภทของระบบปฏิบัติการ 
               1. ระบบปฏิบัติการเชิงเดี่ยว (Stand-alone Operating System) 
   เป็นระบบปฏิบัติการที่มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้คนเดียว (เจ้าของเครื่อง) นิยมใช้ประมวลผลและการทำงานแบบทั่วไป ปัจจุบันพัฒนาให้มีคุณสมบัติที่เป็นเครื่องลูกข่ายเพื่อขอรับบริการจากเครื่องแม่ไร้สายได้ด้วย 
                2. ระบบปฏิบัติการแบบเครื่อข่าย (Network Operating System) 
   มุ่งเน้นและให้บริการสำหรับผู้ใช้หลายๆคน (Multi-User) สำรับงานให้บริการและประมวลผลข้อมูลของเครือข่ายโดยเฉพาะ เช่น Novell Netware, Windows Server 2003, Unix, Linux เป็นต้น 
                3. ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded Operating System) 
   เป็นระบบปฏิบัติการที่มักนำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบมือถือ โดย OS แบบฝังในตัวเครื่องนี้จะถูกจัดเก็บไว้ในชิปหน่วยความจำรวม 
   เช่น Windows CE, Pocket PC 2002, Palm OS เป็นต้น


     คุณสมบัติการทำงาน

1. การทำงานแบบ Multi-Tasking 
   คือ ความสามารถในการทำงานได้หลายๆงานหรือหลายๆโปรแกรมในเวลาเดียว จะพบได้ในWindows รุ่นใหม่ๆซึ่งทำให้สะดวกสบายในการทำงาน 
               2. การทำงานแบบ Multi-User 
   ในระบบการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกันแบบเครือข่าย ระบบปฏิบัติการที่ทำหน้าที่ควบคุมจะมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่เรียกว่า Multi-User 
   หรือความสามารถในการทำงานกับผู้ใช้ได้หลายๆคน ขณะที่มีการประมวลผลของงานพร้อมๆกัน ทำให้กระจายการใช้ได้ถึงมากขึ้น


 หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
  1. ช่วยในการบูตเครื่อง (Booting) 
    เมื่อมีการบูตเครื่อง ระบบปฏิบัติการจะถูกโหลดเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จึงสามารถโต้ตอบกับระบบเพื่อสั่งงานได้ในลักษณะกราฟฟิก (GUI : Graphics User Interface) 
               2. ควบคุมอุปกรณ์และการทำงานของคอมพิวเตอร์ 
               3. จัดสรรทรัพยากรในระบบ


                ระบบคอมพิวตอร์

- ระบบกลุ่มอย่างง่าย (Simple Batch System)
- คอมพิวเตอร์ยุคแรกๆมีขนาดใหญ่ ทำการรับจากคอนโซล (Console)
- อุปกรณ์นำเข้าหรืออินพุต (Input)
- เป็นพวกการ์ดรีดเดอร์ (Card Reader)
 - และเทปไดร์ฟ (Tape Drive)
- อุปกรณแสดงผลหรือเอาท์พุต (Output)
 - เป็นพวกไลน์ปริ้นเตอร์ (Line Printer)
                - เทปไดร์ฟ และบัตรเจาะรู (Punched Card)

    ผู้ใช้จะไม่ได้ติดต่อกับระบบคอมพิวเตอร์โดยตรง วิธีติดต่อคือผู้ใช้เตรียมงาน พวกโปรแกรม ข้อมูล และสารสนเทศเพื่อการควบคุมเกี่ยวกับธรรมชาติของงานและนำไปให้โอเปอเรเตอร์ (Operator)


    Spooling Overlap

ในระบบอย่างง่าย Spooling อาจอ่านจากงานหนึ่งในขณะพิมพ์เอาท์พุตของอีกงานหนึ่ง และอีกงานหนึ่งยังแอกซีคิวอยู่ ประโยชน์ของ Spooling เช่น
- Overlap Job ได้
ทำให้ซีพียูและอุปกรณ์รับส่งข้อมูลได้ในอัตราที่สูงขั้น

               ระบบกลุ่มหลายโปรแกรม (Multiprogrammed Batch System)

 ในระบบแบบมัลติโปรแกรมระบบปฏิบัติการจะสวิตซ์ไปทำงานอีกงานเมื่องานที่สองต้องรอซีพียู จะสวิตซ์งานไปทำงานอีกงานเมื่องานที่สามต้องซีพียู เป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆจนวนมาถึงคิวของงานแรก ซีพียูจึงไม่มีทางว่าง

               ระบบแบ่งส่วนเวลา (Time-Sharing System)

การทำงานแบบโต้ตอบ (Interactive) คือ เมื่อผู้ใช้ป้อนคำสั่งให้ระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมและได้รับการตอบสนองทันที
 - ระบบโต้ตอบแบบมัลติโปรแกรมมิ่ง (Multiprogramming) ระบบปฏิบัติการจะใช้Multiprogramming และ CPU Scheduling เพื่อเตรียมส่วนของหน่วยความจำเล็กๆให้แต่ละผู้ใช้ เมื่อโปรแกรมถูกโหลดเข้าสู่หน่วยความจำ ใช้เวลานาน ระบบจะสลับไปทำงานของผู้ใช้คนอื่นแทน
ระบบคอมพิวตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer System)

               ระบบคู่ขนาน

 ระบบคู่ขนาน คือ ระบบมัลติโปรเซสเซอร์ที่มีซีพียูมากกว่าหนึ่งตัวในการติดต่อสื่อสารและเป็นโปรเซสเซอร์ที่มีการแชร์เมโมรี่ (Tightly Coupled System) 
      • รูปแบบของการทำงานหลายกระบวนการแบบสมมาตร (Symmetric-Multiprocessing Model) 
              ใช้โอเอสเดี่ยวกันทุกๆโปรเซสเซอร์ 
              โปรเซสเซอร์ทำงานพร้อมกันโดยไม่มีการลดประสิทธิภาพ 
              โอเอสปัจจุบันมีการสนับสนุน


      • รูปแบบของการทำงานหลายกระบวนการแบบไม่สมมาตร (Asymmetric-Multiprocessing Model)

มีการกำหนดงานแต่ละชิ้นให้กับโปรเซสเซอร์ 
                 - นิยมใช้ในระบบขนาดใหญ่ 
    

  ระบบกระจายอำนาจ (Distributed System) 
     เป็นการแจกจ่ายงานให้กับโปรเซสเซอร์ที่มีอยู่ คือ โปรเซสเซอร์แต่ละตัวจะมีหน่วยความจำเป็นของตนเอง การสื่อสารระหว่างโปรเซสเซอร์ทำได้หลายวิธี เช่น สายโทรศัพท์ 
               - ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องมือ 
              - การทำงานได้เร็วขึ้น 
              มีความน่าเชื่อถือ 
              แลกเปลี่ยนข้อมูลได้ไม่จำกัด


      ระบบโต้ตอบเฉียบพลัน (Real-time System)


      • Hard real-time system (เสร็จตรงเวลา) ไม่มีฮาร์ดดิสก์ขนาดเล็กเก็บข้อมูลใน Short-term หรือRAM จุดเสียคือมีเป็นปัญหากับการแบ่งส่วนเวลา และไม่มีการซัพพอร์ตจากโอเอสทั่วไป 
      • Soft real-time system (ขาดการตรงเวลา) 
     - มีการจำกัดยูทิลิตี้และเสียงในการใช้ในอุตสาหกรรมควบคุมหรือหุ่นยนต์ 
     - มีประโยชน์ในการประยุกต์ใช้ใน Multimedia, VR เป็นต้น 
     - ระบบนี้ต้องการ Features ของระบบปฏิบัติการขั้นสูง


              โครงสร้างของระบบปฏิบัติการ

 ส่วนประกอบของระบบ (System Component)
 • การจัดการกระบวนการ (Processing Management)
 กระบวนการ คือ โปรแกรมที่ทำงานอยู่ ได้แก่ งานแบบกลุ่ม (Batch Job) โปรแกรมของ
 ผู้ใช้ในระบบแบ่งส่วนเวลา เป็นต้น ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่ในการจัดการกระบวนการดังนี้ 
              สร้างและทำลายกระบวนการทั้งหมดของระบบของผู้ใช้ 
                - ให้กระบวนการหยุดชั่วคราว (Suspension) หรือกลับคืนสภาพ (Resumption) 
                 - จัดกลไกในการประสานงานระหว่างกระบวนการ (Processing Synchronization) 
                 - จัดกลไกในการจัดปัญหาวงจรอับ (Deadlock Handling)


  • การจัดการหน่วยความจำ (Main-Memory Management)
  - บันทึกข้อมูลว่าโปรแกรมใดอยู่ในความจำตำแน่งใด 
  - เลือกกระบวนการที่จะลงหน่วยความจำต่อไปเพื่อมีที่ว่าง 
  จัดสรรและคืนตามที่ร้องขอ


 • การบริหารแฟ้มข้อมูล (File Management)
 - สร้างและทำลายแฟ้มข้อมูล 
 - สร้างและทำลายไดเรคทอรี่ 
  - ให้บริการการใช้งานแฟ้มข้อมูลและไดเรคทอรี่พื้นฐาน 
  อ้างอิงข้อมูล 
  ทำสำเนาแฟ้มในหน่วยความจำถาวร


      • การบริหารระบบรับส่งข้อมูล (I/O System Management)

 - องค์ประกอบการจัดการหน่วยความจำ คือ Buffering, Cashing, Spooling 
 - เรียกใช้ตัวควบคุมอุปกรณ์ (Driver Interface) 
 ตัวควบคุมอุปกรณ์พิเศษ (Driver for specific hardware device)


 • การจัดการหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Management)
  - การบริหารพื้นที่ว่าง 
  การจัดหาเนิ้อที่เก็บข้อมูล 
  - การวัดตารางการใช้บันทึก


      • เครือข่าย (Networking) 
      • ระบบป้องกันหรือระบความปลอดภัย (Protection System) 
      • ระบบแปลคำสั่ง (Command-Interpreter System) 


Open Source คือ
Open Source คือ การพัฒนาระบบใดระบบหนึ่งทางด้านคอมพิวเตอร์ด้วยเงื่อนไขที่ผู้สร้างสรรค์หรือผู้คิดค้นไม่ถือเอาสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการพัฒนาระบบนั้น ๆ พร้อมทั้งเปิดเผยแหล่งต้นกำเนิดของระบบนั้น หรือพูดง่าย ๆ ก็ คือการเปิดให้ใช้ซอฟต์แวร์ฟรีนั้นเอง
Linux ubuntu FedHat คือ
-Linux คือ    Linux  คือ ระบบปฏิบัติการ ( Operation System ) ชนิดหนึ่งครับ ก็จะเหมือนกับระบบปฏิบัติการอื่นๆ เช่น Windows , Unix โดยที่ Linux ได้รับการพัฒนามาจากระบบปฏิบัติการ Unix ลีนุกซ์ระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต สามารถติดตั้งได้ในทั้งใน เครื่อง PC ครับ สนับสนุนการใช้งานแบบหลากงาน หลายผู้ใช้ (MultiUser-MultiTasking) มีระบบ วินโดวส์ ซึ่งเป็นระบบการติดต่อผู้ใช้แบบกราฟฟิก และที่สำคัญ Linux เป็นระบบปฏิบัติการที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขของ GPL (GNU General Public Licence) นั่นหมายความว่า Linux เป็นระบบปฏิบัติที่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไข พัฒนาได้  และแจกจ่ายให้ใช้ฟรีได้
-ubuntu เป็นDistribution ของLinux แต่ Ubuntu พัฒนามาจาก Debain (ซึ่งก็เป็นDistribution ของLinuxเช่นกัน) เปรียบเทียบกับWindows ก็เช่น WinVista  WinXP  WinME ประมาณเนี้ย  แต่linux แบ่งการพัฒนาเป็นDistribution ออกมาเพื่อการใช้งานทั้งDesktop และSrv. เช่น Fedora (Red Hat), SUSE Linux (Novell), Ubuntu (Canonical Ltd.) Mandriva Linux  Debian และ Gentoo. แต่ละDistribution จะมาจากหลายบริษัทหรือจากที่เดียวกัน
-FedHat คือ ระบบปฏิบัติการและโครงสร้างพื้นฐานของลีนุกซ์ในระดับองค์กรขนาดใหญ่ ให้การสนับสนุนสถาปัตยกรรมของเครื่องให้บริการขนาดใหญ่ รองรับหน่วยประมวลผลกลางได้สูงสุด 8 ตัว และหน่วยความจำหลักขนาด 16 กิกะไบต์ Red Hat Enterprise Linux AS เป็นโซลูชั่นที่เหมาะสมมากที่สุดสำหรับเครื่องให้บริการสำหรับองค์กรขนาดใหญ่และศูนย์กลางข้อมูลขององค์กร
เขียนแผนผังแสดงสายพันธ์ ของ Linux
วิวัฒนาการของ ubuntu เริ่มต้นความเป็นมาจากนักธุรกิจหนุ่มจากประเทศแอฟริกาใต้ ผู้ซึ่งมีวิสัยทัศน์และความคิดจะพัฒนา Softwareเพื่อให้ผู้คนที่ต้องการใช้ Software เพื่อตอบสนองงานต่างๆของตนเองได้โดยเข้าถึงตัว Software โดยไม่มีการกีดกันจากค่าใช้จ่ายของตัว Software ที่ส่วนมากมักจะแพงแสนแพง โดยใช้ Open Sourceเป็นสื่อกลางเพื่อผลักดันการพัฒนาตัว Software เหล่านี้เพื่อมวลชนโดยที่ปราศจากการแสวงหากำไรทางธุรกิจจากความสนใจที่มี Open Source ของ มาร์ค ชัดเติ้ลเวิร์ธ ( Mark Shuttleworth ) ทำให้เขาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา เดเบียน ลินุกซ์ ( Debain Linux ) ยังที่ศึกษาอยู่ต่อมาUbuntu ด้เริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกในรูปแบบของมูลนิธิ Ubuntu ในปี พ.ศ.2547 ในปีถัดมา บริษัท “ Canonical ”ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อผลักดันโครงการ Free Software รวมถึง Open Source โดยอาศัยงบประมาณพัฒนา ขั้นต้นจากงบประมาณ 10 ล้านเหรียญ (US) และสิ่งที่ตรอกย้ำถึงความหนักแน่นในวิสัยทัศน์ของ มาร์ค ชัดเติ้ลเวิร์ธคือการตั้งชื่อว่า “ Ubuntu ” ซึ่งมีความหมายถึงการร่วมมือกันเพื่อผู้อื่น (Humanity for others) จากส่วนนี้ทำให้เรา รู้ว่าเขามีความมันคงทางปรัชญาและความตั้งใจจะพัฒนาSoftware Open Source เพื่อส่วนรวมโดยไม่ได้มีการแสวงหากำไรทางธุรกิจแต่อย่างใด

OpenSource คืออะไร
OpenSource คือ กลุ่ม software ที่เปิดเผย source code ของโปรแกรม ทำให้สามารถแก้ไข ดัดแปลงsource code ได้หมด ซึ่งเป็นการให้สิทธิเสรีแก่ผู้ที่จะนำไปใช้เพื่อการพัฒนาซอฟต์แวร์ร่วมกันใน ลักษณะของสังคมซอฟต์แวร์

ข้อดีของโปรแกรมแบบ OpenSource
1.Open Source เป็นโปรแกรมที่เปิดให้ใครก็ได้บนโลกนี้สามารถเข้ามาพัฒนาโปรแกรมได้ ดังนั้นจึงมีนักพัฒนาโปรแกรมหลายคน จึงทำให้โปรแกรมมีประสิทธิภาพสูง
2.Open Source ช่วยให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายได้ เพราะไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์
ตัวอย่างโปรแกรมที่เป็น Open Source ก็อย่างเช่น PHP , My SQL, Star Office เป็นต้น นอกจากโปรแกรมแล้ว ยังมีระบบปฏิบัติการ Open Sorce อย่างระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาใช้ทดแทนวินโดวส์ของไมโครซอฟต์นั่นเอง
ฟรีแวร์

ฟรีแวร์ (freeware) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นและสามารถนำไปใช้ได้ในทุกจุดประสงค์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย [1] (เช่นราคาขายหรือค่าลิขสิทธิ์) ฟรีแวร์เป็นลักษณะก้ำกึ่งระหว่างซอฟต์แวร์พาณิชย์และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ คืออนุญาตให้กลุ่มผู้พัฒนามีส่วนร่วมในการสร้างซอฟต์แวร์ แต่ก็ไม่เผยแพร่รหัสต้นฉบับสู่สาธารณชนเพื่อรักษาความลับทางการค้าฟรีแวร์นั้นคล้ายกับแชร์แวร์ (shareware) คือสามารถใช้ได้ทุกจุดประสงค์เหมือนกัน แต่แชร์แวร์อาจมีระยะเวลาทดลองใช้และต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเพื่อต่ออายุ หรือเปิดฟังก์ชันการใช้งานที่สมบูรณ์ และฟรีแวร์ต่างจากซอฟต์แวร์เสรี (free software) คือ ซอฟต์แวร์เสรีอนุญาตให้เปิดเผยรหัสต้นฉบับและอนุญาตให้ผู้อื่นนำไปพัฒนาต่อได้ ในขณะที่ฟรีแวร์ไม่อนุญาติ

การเลือกใช้ระบบปฏิบัติการ

การเลือกใช้และติดตั้งระบบปฏิบัติการ

หน้าตาของ WINDOWS 7 

                   หน้าตาของ Windows 7 มีชื่อเรียก ส่วนประกอบต่าง ๆ ดังนี้

                   1.  ปุ่ม Start Menu เมื่อคลิกจะปรากฏคำ สั่งและรายชื่อโปรแกรมต่างๆ
                   2. Search คำ สั่งสำ หรับค้นหาโปรแกรม ไฟลหรื่อโฟลเดอร์ภายในเครื่อง
                   3. All Programs แสดงรายชื่อโปรแกรมที่มีทั้งหมดในเครื่อง ทั้งที่เป็นโปรแกรม
                      ของ Windows 7 และ โปรแกรมอื่น แต่ละเครื่องไม่เหมือนกัน
                   4. Recent Use แสดงรายชื่อโปรแกรมที่เรียกใชง้านบ่อยๆ
                   5. Pinned Icon แสดงรายชื่อโปรแกรมที่ปักหมุดไว ้เพื่อความสะดวกในการเรียก
                      ใช้งาน ขึ้นอยู่กับ เจ้าของเครื่อง แต่ละคนจะปักหมุดโปรแกรมที่ตัวเองเรียก
                      ใช้งานบ่อยๆไว้
                   6. ภาพแสดงแทนตัวผู้ใช้ครื่อง (User) ที่เข้าระบบอยู่ในขณะนั้น
                   7. ชื่อ User ที่ล็อกอินหรือกำลังเข้าใช้งาน Windows 7 อยู่ในขณะนั้น
                   8. โฟลเดอร์เก็บไฟล์งานของ User ที่กำลังเข้าระบบอยู่ในขณะนั้น กรณีเครื่องนั้นๆ
                       มีการสร้างรายชื่อ ผู้ใช้งานไว้หลายคน ก็จะแสดงเฉพาะรายชื่อผู้ใช้แต่ละคน
                      ไม่เกี่ยวข้อกัน จะไปใช้ข้อมูลของคนอื่นไม่ได้ถูกล็อกไว ้นอกจาก User
                       ที่เป็น Administrator เท่านั้นที่จะมองเห็นข้อมูลทั้งหมดของเครื่อง ปกติแล้ว
                       บริษัทต่างๆ  ที่ ให้โน้ตบุ๊กพนักงานใช้ ก็ จะทำ แบบนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้
                       พนักงาน ติดตั้งโปรแกรมเพิ่ม ลงไป หรือทำ อะไรกับ เครื่องมากเกินไป
                      กว่าที่ทางบริษัท ต้องการ โดยเฉพาะการลงโปรแกรมที่ผิดกฎหมาย
                   9. Control Panel กลุ่มโปรแกรมสา หรับปรับแต่ง Windows 7
                   10. Devices and Printers คำ สั่งสำหรับดูรายชื่ออุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อ
                        ใช้งานกับ Windows  7 หรือ รายชื่อไดรเวอร์ที่มีการติดตั้งไว ้
                         และไดรเวอร์ของเครื่องพิมพ์
                   11. Default Programs คำ สั่งกำหนดให้โปรแกรมใดเป็นโปรแกรมหลัก
                        สำหรับการเรียกใช้งาน ไฟลข์้อมูลแบบต่างๆ
                   12. Help and Support รวมคำ สั่งอธิบายการใช้งาน Windows 7 คล้ายๆ กับเป็น
                      คู่มือของโปรแกรมนี้ นั่นเอง แต่เป็นภาษาองักฤษ
                   13. Shutdown คำ สั่งปิดเครื่อง

     


 4. ทดลองใช้และตั้งค่า Screen Saver ได้
      การปรับแต่งหน้าตาของ Windows 7 
              การตกแต่งหน้าตาของวินโดวส์นั้น สามารถทา ได้เหมือนกับวินโดวส์รุ่นก่อนๆ คือปรับแต่ง Background color, Wallpaper เป็นต้น ซึ่งวิธีการปรับแต่งก็จะต่างกันเล็กน้อยมีขั้นตอนดังนี้
              การต้ังภาพ Wallpaper 
                       1.คลิกเมาส์ขวาที่ Desktop เลือก Personalize 


                  
                    2.จะปรากฏหนา้ต่าง Personalize ของ Windows 7 ขึ้นมา 


                    3. คลิกเลือกภาพที่ตอ้งการ 


                      
                    4. ภาพพื้นหลงัจะถูกเปลี่ยนโดยอตัโนมัติ
                                       
                                     
     
                การติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows XP โดยปกติ จะสามารถทำ ได ้2 แบบคือ การติดตั้งโดยการอัพเกรดจาก Windows ตัวเดิม หรือทำ การติดตั้งใหม่เลยทั้งหมด สำ หรับตัวอย่างในที่นี้ จะขอแนะนำ วิธีการ ขั้นตอนการ ติดตั้ง Windows XP แบบลงใหม่ทั้งหมด ซึ่งความเห็นส่วนตัว น่าจะมีปัญหาในการใช้งานน้อยกว่าแบบอัพเกรด      

              วิธีติดตั้ง Windows XP ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบดังนี้
                  1. ติดตั้งแบบอัพเกรดจาก Windows ตัวเดิม โดยใส่แผ่น CD และเลือกติดตั้งจาก
                      CD นั้นได้เลย                
                  2. ติดตั้งโดยการบูตเครื่องใหม่จาก CD ของ Windows XP Setup และทำ
                      การติดตั้ง
                  3. ติดตั้งจากฮาร์ดดิสก์ โดยทา การ copy ไฟลท์ั้งหมดจาก CD
                      ไปเก็บไวใ้นฮาร์ดดิสกก่อนทำ การติดตั้ง      

            เพื่อให้หายต่อการทำ ความเข้าใจ ในขั้นตอนการติดตั้งระบบ Windows XP ตรงนี้ จะขอแสดงตัวอย่างการติดตั้ง โดยการบูตจากแผ่น CD ของ Windows XP Setup โดยก่อนที่จะทำ การติดตั้ง ก็ให้ทำ การสำ รองข้อมูลต่าง ๆ ไว้ ให้เรียบร้อย จัดการแบ่ง พาร์ติชั่น (ถ้าจำ เป็น) และทำ การ format ฮาร์ดดิสก์ให้เรียบร้อยก่อน นอกจากนี้ ไม่ควร ลืมการ  เตรียม Driver ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เป็นของ Windows XP ไว้ด้วย
   
             ในการแบ่งพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ แนะนำ ให้ทำการวางแผนประมาณขนาดพื้นที่ไว้ล่วงหน้าด้วย โดยทั่วไปก็ไม่ควรจะ ใช้พื้นที่กว่า 3G. และเนื่องจากระบบ Windows XP สามารถที่จะสร้างเมนู Multi Boot ได้หลังจากที่ติดตั้งไป แล้ว โดยยังสามารถเลือกเมนูว่า จะเรียก Windows ตัวเดิมหรือจะเรียก Windows XP ก็ได ้ดังนั้น หลาย ๆ จะแบ่งพื้นที่ไว้ลง Windows 98 ที่ Drive C: ประมาณ 5G. และเผื่อไว้าสำ หรับ Windows XP ที่ Drive D: อีก ประมาณ 5G. ที่เหลือก็จะเป็น Drive E: สำ หรับเก็บข้อมูลอื่น ๆ ทั่วไป แต่ถ้าหากลง Windows เพียงแค่ตัวเดียว ก็ ไม่จำ เป็นครับ

              การตั้งค่าใน BIOS ก่อนทำ การติดตั้ง Windows XP ใหม่จะต้องทำ การ Disable Virus Protection ใน BIOS ซะ ก่อน เพราะว่าเมนบอร์ดบางรุ่นจะมีการป้องกัน Virus โดยการป้องกันการเขียนทับในส่วนของ Boot Area ของ ฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเท่าที่เคยเห็นมา เครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะมีให้เลือกตั้งค่านี้อยู่แล้ว ถ้าหากเครื่อง ของใครไม่มีก็ไม่ต้องตกใจ เพราะเมนบอร์ด บางรุ่นอาจจะไม่มีก็ได้ วิธีการก็คือ

                เริ่มจากการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ ขณะที่เครื่องกำลังทำ  Memory Test หรือนับ RAM อยู่นั่นแหละ ด้านล่างซ้ายมือจะมีคำ ว่า Press DEL to enter SETUP ให้กดปุ่ม DEL บน Keyboard เพื่อเข้าสู่เมนูของ Bios Setup (แล้วแต่เมนบอร์ด ด้วยบางทีอาจจะใช้ปุ่มอื่น ๆ สำ หรับการเข้า Bios Setup ก็ไดล้องดูให้ดี ๆ) จากนี้ก็แล้วแต่ว่าเครื่องของใคร จะขึ้นเมนูอย่างไร คงจะไม่เหมือนกันแต่ก็ไม่แตกต่างกันมากนัก

               จากนั้นให้มองหาเมนู Bios Features Setup ส่วนใหญ่จะเป็นเมนูที่สอง ใช้ปุ่มลูกศรเลื่อนแถบลง มาแล้วกด ENTER ถ้าใช่จะมีเมนูของ Virus Warning หรือ Virus Protection อะไรทำ นอกนี้ ถ้าหาก เป็น Enable อยู่ละก็ให้เปลี่ยนเป็น Disable โดยเลื่อนแถบแสงไปที่เมนูที่เราต้องการใช้ปุ่ม PageUp หรือ PageDown สำ หรับเปลี่ยนค่าใหเ้ป็น Disable

                กดปุ่ม ESC เพื่อกลับไปเมนูหลักของ Bios Setup มองหาเมนูของ SAVE TO CMOS AND EXIT หรือ อะไรทำ นองนี้เลื่อนแถบแสงไปเลยแล้วกด ENTER ถ้าหากเครื่องถามว่าจะ Save หรือไม่ก็ตอบ Y ได้ เลย หลังจากนี้เครื่องจะทำ การ Reboot ใหม่อีกครั้ง ใส่แผ่น Startup Disk ที่เราทำ ไว้ตามขั้นตอนแรกรอ ไว้ก่อนเลย

    มาดูขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้น การติดตั้ง Windows XP กันเลยครับ 
              เริ่มต้น โดยการเซ็ตใหบู้ตเครื่องจาก CD-Rom Drive ก่อน โดยการเข้าไปปรับตั้งค่าใน bios ของเครื่อง คอมพิวเตอร์ โดยเลือกลำ ดับการบูต ใหเ้ลือก CD-Rom Drive เป็นตัวแรกครับ (ถา้หากเป็นแบบนี้อยู่แล้ว ก็ไม่ ต้องเปลี่ยนอะไร) 

การทำให้ข้อความหรือวัตถุเคลื่อนไหว

การทำให้ข้อความหรือวัตถุเคลื่อนไหว

คุณสามารถทำให้ข้อความ รูปภาพ รูปร่าง ตาราง กราฟิก SmartArt และวัตภุอื่นๆ เคลื่อนไหวในงานนำเสนอ PowerPoint ของคุณเพื่อทำให้มีลักษณะพิเศษแบบเป็นภาพ ซึ่งรวมถึงลักษณะการเข้า ออก การเปลี่ยนขนาดหรือสี ตลดจนการเคลื่อนย้าย สร้างงานนำเสนอสไลด์ที่มีจุดสัญลักษณ์แสดงหัวข้อหรือเครดิตการผลิตแบบเคลื่อนไหว
ภาพเคลื่อนไหวเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการเน้นประเด็น ควบคุมความต่อเนื่องของข้อมูล และเพิ่มความสนใจของผู้ชม คุณสามารถนำเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหวมาใช้บนสไลด์แต่ละสไลด์ ต้นแบบสไลด์ หรือเค้าโครงสไลด์แบบกำหนดเอง

เพิ่มภาพเคลื่อนไหวลงในวัตถุ

  1. เลือกวัตถุที่คุณต้องการให้เคลื่อนไหว
    “วัตถุ” ในบริบทนี้คือทุกอย่างที่อยู่บนสไลด์ เช่น รูปภาพ แผนภูมิ หรือกล่องข้อความ จุดจับปรับขนาดจะปรากฏรอบๆ วัตถุเมื่อคุณเลือกบนสไลด์ (สำหรับวัตถุประสงค์การทำภาพเคลื่อนไหว ย่อหน้าภายในกล่องข้อความจะถือว่าเป็นวัตถุเช่นกัน แต่จะไม่มีจุดจับการปรับขนาดเมื่อคุณเลือก และกล่องข้อความทั้งหมดจะมีจุดจับการปรับขนาดแทน)
  2. บนแท็บ ภาพเคลื่อนไหว ของ Ribbon ในกลุ่ม ภาพเคลื่อนไหว ให้คลิกปุ่ม เพิ่มเติม รูปปุ่ม แล้วเลือกลักษณะพิเศษภาพเคลื่อนไหวที่คุณต้องการ
      • ถ้าคุณไม่เห็นลักษณะพิเศษเข้า ออก เน้น หรือเส้นทางการเคลื่อนไหวที่คุณต้องการ ให้คลิก ลักษณะพิเศษเข้าเพิ่มเติมลักษณะพิเศษเน้นเพิ่มเติมลักษณะพิเศษออกเพิ่มเติม หรือ เส้นทางการเคลื่อนไหวเพิ่มเติม
      • เอฟเฟ็กต์เปิดและปิดบางอย่าง (เช่น พลิก หล่นลง และสะบัด) และเอฟเฟ็กต์เน้นบางอย่าง (เช่น สีแปรง และคลื่น) จะพร้อมใช้งานสำหรับวัตถุที่มีข้อความเท่านั้น ถ้าคุณต้องการนำเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหวที่ไม่พร้อมใช้งานด้วยเหตุผลนี้ไปใช้ ให้ลองเพิ่มช่องว่างภายในวัตถุของคุณ
      • หลังจากที่คุณนำภาพเคลื่อนไหวไปใช้กับวัตถุหรือข้อความแล้ว รายการที่เคลื่อนไหวจะมีป้ายชื่อแท็กลำดับเลขที่ไม่พิมพ์ออกมาระบุอยู่บนภาพนิ่ง ซึ่งแสดงอยู่ใกล้กับข้อความหรือวัตถุนั้น แท็กจะปรากฏในมุมมองปกติเมื่อเลือกแท็บ ภาพเคลื่อนไหว หรือมองเห็นบานหน้าต่างงานภาพเคลื่อนไหวเท่านั้น

    เปลี่ยนความเร็วของเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหว

    ความเร็วของเอฟเฟ็กต์จะถูกกำหนดโดยการตั้งค่า ระยะเวลา
    1. บนสไลด์ ให้เลือกเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหวที่คุณต้องการเปลี่ยนแปลง
    2. บนแท็บ ภาพเคลื่อนไหว ภายใต้ตัวเลือก กำหนดเวลา ในกล่อง ระยะเวลา ให้ใส่จำนวนวินาทีที่คุณต้องการให้เอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหวทำงาน

      เปลี่ยนวิธีการเริ่มต้นเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหว

      1. บนสไลด์ ให้เลือกเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหวที่คุณต้องการเปลี่ยนแปลง
      2. บนแท็บ ภาพเคลื่อนไหว ภายใต้ตัวเลือก กำหนดเวลา ให้เปิดรายการ เริ่มต้น แล้วเลือกหนึ่งในสามตัวเลือกที่อธิบายไว้ด้านล่าง:

        ตั้งเวลาระหว่างเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหว

        ตัวเลือก หน่วงเวลา จะกำหนดระยะเวลาที่ผ่านไปก่อนที่เอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหวที่ระบุจะเริ่มต้น ไม่ว่าจะหลังจากที่คุณคลิกหรือหลังจากเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหวก่อนหน้าเล่นเสร็จ

        เปลี่ยนลำดับของเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหวบนสไลด์

        เมื่อต้องการจัดลำดับชุดภาพเคลื่อนไหวบนสไลด์ใหม่:
        1. เปิดบานหน้าต่างภาพเคลื่อนไหว: บนแท็บ ภาพเคลื่อนไหว ในกลุ่ม ภาพเคลื่อนไหวขั้นสูง ให้เลือก บานหน้าต่างภาพเคลื่อนไหว
        2. ในบานหน้าต่างภาพเคลื่อนไหว ให้เลือกเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหวที่คุณต้องการจัดลำดับใหม่
        3. บนแท็บ ภาพเคลื่อนไหว ของ Ribbon ในกลุ่ม กำหนดเวลา ภายใต้ จัดลำดับภาพเคลื่อนไหวใหม่ ให้เลือกหนึ่งในตัวเลือกเหล่านี้:
            • เลือก ย้ายไปลำดับก่อนหน้า เพื่อย้ายเอฟเฟ็กต์ขึ้นหนึ่งตำแหน่งในลำดับภาพเคลื่อนไหว
            • เลือก ย้ายไปลำดับถัดไป เพื่อย้ายเอฟเฟ็กต์ลงหนึ่งตำแหน่งในลำดับภาพเคลื่อนไหว
            คุณสามารถเลือกตัวเลือกได้หลายครั้ง ถ้าจำเป็น เพื่อย้ายเอฟเฟ็กต์ที่เลือกของคุณไปยังตำแหน่งที่เหมาะสมในลำดับภาพเคลื่อนไหว

          เอาเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหวออก

          เมื่อคุณทำให้วัตถุเคลื่อนไหว (เช่น สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อยหรือรูปภาพ) ตัวเลขขนาดเล็กจะปรากฏขึ้นทางด้านซ้ายของวัตถุนั้น ตัวเลขนี้จะระบุสถานะของเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหวและจะวางตามลำดับของภาพเคลื่อนไหวบนสไลด์ปัจจุบัน
          เมื่อต้องการนำภาพเคลื่อนไหวออก
          1. เลือกตัวเลขของภาพเคลื่อนไหวที่คุณต้องการนำออก
          2. กดแป้น Delete บนคีย์บอร์ดของคุณ

          การนำลักษณะพิเศษภาพเคลื่อนไหวหลายลักษณะไปใช้กับวัตถุเดียว

          1. เลือกข้อความหรือวัตถุที่คุณต้องการเพิ่มภาพเคลื่อนไหวหลายลักษณะ
          2. บนแท็บ ภาพเคลื่อนไหว ในกลุ่ม ภาพเคลื่อนไหวขั้นสูง ให้คลิก เพิ่มภาพเคลื่อนไหว
            กลุ่ม ภาพเคลื่อนไหวขั้นสูง บนแท็บ ภาพเคลื่อนไหว

          การดูรายการของภาพเคลื่อนไหวที่มีอยู่บนภาพนิ่งในปัจจุบัน

          คุณสามารถดูรายการของภาพเคลื่อนไหวทั้งหมดบนสไลด์ใน บานหน้าต่างภาพเคลื่อนไหวบานหน้าต่างภาพเคลื่อนไหว จะแสดงข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับลักษณะพิเศษภาพเคลื่อนไหว เช่น ชนิดของลักษณะพิเศษ ลำดับของลักษณะพิเศษหลายลักษณะที่สัมพันธ์กัน ชื่อของวัตถุที่ได้รับผลกระทบ และระยะเวลาของลักษณะพิเศษ
          เมื่อต้องการเปิดบานหน้าต่างงานภาพเคลื่อนไหว บนแท็บ ภาพเคลื่อนไหว ในกลุ่ม ภาพเคลื่อนไหวขั้นสูง ให้คลิก บานหน้าต่างภาพเคลื่อนไหว
          บานหน้าต่างงาน ภาพเคลื่อนไหว
          1. ในบานหน้าต่างงาน ตัวเลขจะระบุลำดับของเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหวที่จะเล่น ตัวเลขในบานหน้าต่างงานจะสอดคล้องกับแท็บลำดับเลขที่ไม่พิมพ์ที่แสดงบนสไลด์
          2. เส้นเวลาแสดงระยะเวลาของลักษณะพิเศษ
          3. ไอคอนแสดงชนิดของเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหว ในตัวอย่างนี้ จะใช้เอฟเฟ็กต์ ออก
          4. เลือกข้อมูลในรายการเพื่อดูไอคอนเมนู (ลูกศรลง) แล้วคลิกไอคอนเพื่อแสดงเมนู
          หมายเหตุ: 
          • ลักษณะพิเศษจะปรากฏในบานหน้าต่างงานภาพเคลื่อนไหวตามลำดับที่คุณเพิ่มลักษณะพิเศษเหล่านั้น
          • คุณยังสามารถดูไอคอนที่ระบุเวลาเริ่มต้นของเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหวที่สัมพันธ์กับกิจกรรมอื่นๆ บนสไลด์ เมื่อต้องการดูไอคอนการกำหนดเวลาเริ่มต้นสำหรับภาพเคลื่อนไหวทั้งหมด ให้คลิกไอคอนเมนูที่อยู่ถัดจากเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหว แล้วเลือก ซ่อนไทม์ไลน์ขั้นสูง
          • มีไอคอนหลายชนิดที่ระบุการกำหนดเวลาเริ่มต้นของเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหว ตัวเลือกมีดังต่อไปนี้:
            • เริ่มต้นเมื่อคลิก (ไอคอนเมาส์ แสดงที่นี่): ภาพเคลื่อนไหวจะเริ่มต้นเมื่อคุณคลิกเมาส์
            • เริ่มพร้อมรายการก่อนหน้า (ไม่มีไอคอน): เอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหวจะเริ่มเล่นพร้อมกับเอฟเฟ็กต์ก่อนหน้าในรายการ การตั้งค่านี้รวมเอฟเฟ็กต์หลายรายการไว้ในเวลาเดียวกัน
            • เริ่มหลังจากรายการก่อนหน้า (ไอคอนนาฬิกา): เอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหวจะเริ่มขึ้นในทันทีหลังจากที่ลักษณะพิเศษก่อนหน้านี้ในรายการเล่นเสร็จ

          การตั้งค่าตัวเลือกลักษณะพิเศษ การกำหนดเวลา หรือลำดับของภาพเคลื่อนไหว

          • เมื่อต้องการตั้งค่าตัวเลือกลักษณะพิเศษสำหรับภาพเคลื่อนไหว บนแท็บ ภาพเคลื่อนไหว ในกลุ่ม ภาพเคลื่อนไหวให้คลิกลูกศรทางด้านขวาของ ตัวเลือกลักษณะพิเศษ และคลิกตัวเลือกที่คุณต้องการ
          • คุณสามารถระบุการกำหนดเวลาเริ่มต้น ระยะเวลา หรือการหน่วงเวลาสำหรับภาพเคลื่อนไหวได้บนแท็บ ภาพเคลื่อนไหว
            • เมื่อต้องการตั้งค่าการกำหนดเวลาเริ่มต้น สำหรับภาพเคลื่อนไหว ในกลุ่ม การกำหนดเวลา ให้คลิกลูกศรทางด้านขวาของเมนู เริ่ม และเลือกเวลาที่คุณต้องการ
            • เมื่อต้องการตั้งค่าระยะเวลาของระยะเวลาที่ภาพเคลื่อนไหวจะทำงาน ในกลุ่ม การกำหนดเวลา ให้ใส่จำนวนวินาทีที่คุณต้องการในกล่อง ระยะเวลา
            • เมื่อต้องการตั้งค่าการหน่วงเวลาก่อนที่ภาพเคลื่อนไหวจะเริ่มขึ้น ในกลุ่ม การกำหนดเวลา ให้ใส่จำนวนวินาทีที่คุณต้องการในกล่อง การหน่วงเวลา
          • เมื่อต้องการ จัดลำดับใหม่ ให้กับภาพเคลื่อนไหวในรายการ ในบานหน้าต่างงาน ภาพเคลื่อนไหว ให้เลือกภาพเคลื่อนไหวที่คุณต้องการจัดลำดับใหม่ และบนแท็บ ภาพเคลื่อนไหว ในกลุ่ม การกำหนดเวลา ภายใต้ จัดลำดับภาพเคลื่อนไหวใหม่ ให้เลือก ย้ายไปก่อนหน้านี้ เพื่อให้ภาพเคลื่อนไหวเกิดขึ้นก่อนภาพเคลื่อนไหวอื่นในรายการ หรือเลือก ย้ายไปหลังจากนี้ เพื่อให้ภาพเคลื่อนไหวเกิดขึ้นหลังภาพเคลื่อนไหวอื่นในรายการ

          ทดสอบเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหวของคุณ

          หลังจากที่คุณเพิ่มลักษณะพิเศษภาพเคลื่อนไหวหนึ่งลักษณะหรือมากกว่าแล้ว เมื่อต้องการตรวจสอบว่าใช้ได้หรือไม่ ให้ทำดังต่อไปนี้
          • บนแท็บ ภาพเคลื่อนไหว ในกลุ่ม แสดงตัวอย่าง ให้คลิก แสดงตัวอย่าง
            กลุ่ม แสดงตัวอย่าง บนแท็บ ภาพเคลื่อนไหว

          ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำให้ข้อความและวัตถุเคลื่อนไหว

          มีเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหวอยู่สี่ประเภทด้วยกัน ได้แก่
          • เอฟเฟ็กต์ เข้า จะทำให้วัตถุค่อยๆ ปรากฏในโฟกัส หรือลอยเข้ามาจากขอบด้านใดด้านหนึ่งของสไลด์ หรือเด้งเข้ามาก็ได้
          • เอฟเฟ็กต์ ออก จะรวมถึงการทำให้วัตถุลอยออกไปจากสไลด์ หายไปจากมุมมอง หรือหมุนตัวออกไปจากสไลด์
          • เอฟเฟ็กต์ เน้น จะทำให้วัตถุลดหรือเพิ่มขนาด เปลี่ยนสี หรือหมุนรอบตัวเอง
          • คุณสามารถใช้ เส้นทางการเคลื่อนไหว เพื่อเลื่อนวัตถุขึ้นหรือลง ไปทางซ้ายหรือขวา หรือเป็นรูปดาวหรือวงกลม (หรือเอฟเฟ็กต์แบบอื่นๆ ได้) คุณยังสามารถวาดเส้นทางการเคลื่อนไหวด้วยตนเองได้ด้วย
          คุณสามารถใช้ภาพเคลื่อนไหวแบบเดี่ยวๆ หรือจะผสมผสานเอฟเฟ็กต์หลายอย่างก็ได้ ตัวอย่างเช่น ทำให้ข้อความบรรทัดหนึ่งลอยเข้ามาพร้อมกับมีขนาดใหญ่ขึ้นโดยใช้เอฟเฟ็กต์เข้า ลอยเข้า และเอฟเฟ็กต์เน้น เพิ่ม/ลด คลิก เพิ่มภาพเคลื่อนไหว เพื่อเพิ่มเอฟเฟ็กต์ แล้วใช้บานหน้าต่างภาพเคลื่อนไหวเพื่อตั้งค่าเอฟเฟ็กต์เน้นให้เกิดขึ้น กับก่อนหน้านี้
          แกลเลอรีเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหวบนแท็บ ภาพเคลื่อนไหว จะแสดงเฉพาะเอฟเฟ็กต์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดเท่านั้น คุณสามารถเพิ่มลูกเล่นได้มากขึ้นด้วยการคลิก เพิ่มภาพเคลื่อนไหว เลื่อนลง แล้วคลิก เอฟเฟ็กต์เข้าเพิ่มเติมเอฟเฟ็กต์เน้นเพิ่มเติมเอฟเฟ็กต์ออกเพิ่มเติม หรือ เส้นทางการเคลื่อนไหวเพิ่มเติม
          เอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหวเพิ่มเติมใน PowerPoint

ระบบปฏิบัติการคืออะไร

ระบบปฏิบัติการคืออะไร      ระบบปฏิบัติการ ( Operating System)       จะประกอบไปด้วยชุดโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการควบคุม จัดสรรทรัพยากร...